ยินดีต้อนรับสู้บล็อกของนางสาวพรรณวิษา วิวิจชัยค่ะ

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 2


          อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน แบ่งกันพับเพื่อน ๆ แล้วให้วาดภาพอะไรก็ได้ตามใจตนเองเพื่อนแทนสัญลักษณ์ของตนเองแล้วเขียนชื่อไว้ใต้ภาพเป็นชื่อตนเอง เมื่อเขียนเสร็จแล้วอาจารย์ให้คนที่มาก่อน 08.30 . ออกไปติดภาพที่ตนเองวาดที่หน้ากระดานเรียงกันแล้วอาจารย์ถามว่ากิจกรรมนี้ได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตรงไหน จำนวน เรียงลำดับ แถว รูปทรง หมวดหมู่ จัดกลุ่ม การซ้ำ การจำนกประเภท ขนาด รูปร่าง การนับ เมื่อนับได้แล้วก็ต้องมีการจดบันทึกโดยการใช้เลข ฮินดูอาราบิกแทนในการจดบันทึกเลขฮินดูอาราบิกจึงใช้เป็นตัวที่แทนค่าต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ (เลขฐานสิบ) เวลานับนับจากซ้ายไปขวาไม่ใช่บนลงล่วง
                สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ สัญลักษณ์ทางภาษาเมื่อมีประสบการณ์ซ้ำ ๆเป็นข้อมูลในสมองเมื่อเด็กเจอข้อมูลใหม่ ๆก็จะปรับเข้ากับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว

อาจารย์ให้ไปหางานห้องสมุด


  •           อาจารย์ให้ไปห้องสมุดไปดูหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มีชื่อหนังสือ,ชื่อผู้แต่ง,ปี พ..,เลขรหัสหนังสือ (อย่างน้อย 5 เล่ม)

1.  รวมสูตร กฎ ทฤษฎีคณิตศาสตร์ ,..ปกรณ์ พลาหาญ ,2553 ,เลขรหัสหนังสือ 510 117 ร ฉ.4
2.   คณิตศาสตร์คิดสนุกคณิตศาสตร์รอบตัวเรา ,ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์, ท่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ ,ธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์ ,2543 ,เลขรหัสหนังสือ 510 34 ค ฉ.1
3.  ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ,รองศาสตราจารย์ชีรวัฒน์ นาคะบุตร ,2546  ,เลขรหัสหนังสือ 510 647 ต ฉ.1
4.  คณิตศาสตร์ประยุกต์ ,รองศาสตราจารย์ชีรวัฒน์ นาคะบุตร ,2549 ,เลขรหัสหนังสือ 510 647 ค ฉ.1
               5.  คณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ ,Andrew Jeffrey,2554 ,เลขรหัสหนังสือ 513 719 ค ฉ.2  
           
  •          หาความหมายของคณิตศาสตร์พร้อมกับบอกคนที่ให้ความหมายมา 1 คน
                   ความหมาย คณิตศาสตร์เป็นทั้งศิลป์ ศาสตร์ ภาษา และยังมีลักษณะบางอย่างคล้ายดนตรีซึ่งลักษณะดังว่าทำให้          โลกของตัวเลขนั้นน่าสนใจและน่าตื่นเต้นตามิใช่น้อยแต่กระนั้นคนเก่ง ๆหลายคนก็ยังมีความรู้สึกกลัวคณิตศาสตร์โดยไม่จำเป็น ซึ่งทำให้คนเหล่านี้เสียโอกาสที่จะสัมผัสถึงความงาม รูปแบบ พลังอำนาจและความสนุกของตัวเลขไป                Andrew Jeffrey ,หนังสือคณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ ,หน้า 5 ,..2554 ,พิมพ์ที่ธรรกมลการพิมพ์


  •           หาทฤษฎีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 1 คน

              หลักคณิตศาสตร์นั้นถ้าเปรียบเสมือนกับต้นไม้ก็เหมือนส่วนที่เป็น รากแก้วของต้นไม้ซึ่งถ้ารากแก้วของต้นไม้แข็งแรงหยั่งลงลึก ต้นไม้ก็จะสามารถเจริญเติบโตจากต้นไม้เล็กเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นที่พึ่งพิงของสรรพสิ่งและช่วยจรรโลงโลกให้สวยงาม น่าอยู่ คณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจ หลักคณิตศาสตร์ อย่างลึกซึ้งและแม่นยำแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่สูงขึ้นไปได้อย่างดีและก็จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้เกิดประโยชน์แก่ตนและประเทศชาติได้อย่างมากมาย              ดร.อิ่มจิตต์ ,หนังสือหลักคณิตศาสตร์






                                     
                                   


     






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น