ยินดีต้อนรับสู้บล็อกของนางสาวพรรณวิษา วิวิจชัยค่ะ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 11


การเรียนการสอน

อาจารย์ถามนักศึกษาว่าใครที่กู้ยืมเงิน กยศ. บ้าง

 อาจารย์ให้ทำงานโดยแบ่งกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อที่จะได้แบ่งกันให้ครบ 5 วัน คือ วันจันทร์ วันศุกร์ 

อาจารย์ให้วิเคราะห์ การเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันคิดกิจกรรมว่าสื่อจะสอน

เด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องอะไร

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 10


การเรียนการสอน


อาจารย์พูดถึงมาตรฐาน ตัวชี้วัด หรือตัวบงชี้ เป็นเรื่องของตัวเลขที่เป็นที่ยอมรับสิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้คือ

                 จำนานและการดำเนินการ ที่ต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใส่บัตรนักเรียนก่อนเข้าห้อง เป็นการวัด

เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 4 กลุ่ม แล้วแทนสัญลักษณ์ เช่น แทนเป็นผลไม้ให้กลุ่มที่ 1 เป็นต้น

                ในแต่ละวันอาจมีการขาดเรียนแต่เอาเด็กที่มาเรียนแต่ละกลุ่มมารวมกันทั้งหมดจะเป็นการสอนเรื่องการกระจาย

ให้กับเด็กในการนับเพื่อจะได้ให้เด็กมีประสบการณ์

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 7


การเรียนการสอน

                จากที่อาจารย์ได้สั่งงานให้ไปตัดกระดาษลังในสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้เขียนชื่อข้างหลัง

วงกลมทุกอัน จากนั้นนำไปส่ง

                อาจารย์ให้เซ็นชื่อการเข้าเรียน และใครที่ส่งวงกลมแล้วให้เขียนหลังชื่อว่า ส่งวงกลมแล้ว

              อาจารย์บอกสำหรับคนที่ทำผิดมา เพราะบางคนทำใส่กระดาษโปสเตอร์ บางคนก็ทำขนาดมาผิด



                
           - จำนวน มีอะไรบ้าง 

           - อธิบายเรื่อง มาตรฐาน

           - มาตรฐานมาจากไหน ได้คำตอบคือ มาจากพัฒนาการ

           - วงกลมที่ให้ทำมา นำมาสอนอะไรได้บ้าง

การบ้าน

           ให้จับคู่ไปหารูปที่มีวงกลมเป็นส่วนประกอบของรูป





    




วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 6


การเรียนการสอน
                อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้ คืองานที่ให้จับคู่ช่วยกันคิดการนำขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ มาสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง วิเคระห์แต่ละข้อว่าจะนำมาสอนอย่างไร
                อาจารย์เรียกถามจากงานของแต่ละคู่ ว่าสิ่งที่ไปคิดมาเป็นอย่างไรบ้าง โดยถามคู่ของดิฉันว่า การจับคู่นั้น ทำอย่างไร เมื่องานของคู่ใดตอบผิด อาจารย์ก็จะอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้ฟัง
                เนื่องจากอาจารย์ติดงาน จึงสั่งงานไว้ให้ทุกคนทำไปก่อน แล้วจะขึ้นมาสอนต่อ โดยงานมีดังนี้
                อาจารย์ให้จับคู่ แล้วไปหยิบกล่องในลังมาคนละ1กล่องแล้วคิดว่าจะนำกล่องมาสอนประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างไร
                อาจารย์ให้จับกลุ่ม 10 คน แล้วนำกล่องของแต่ละคนมารวมกัน จากนั้นให้ช่วยกันนำกล่องมาเรียงหรือต่อกันเป็นอะไรก็ได้แล้วนำของทุกกลุ่มมาช่วยกันจัดนิทรรศการ
                เมื่อประดิษฐ์ของกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ก็เข้ามาสอนต่อแล้วอธิบายว่า ที่ให้ทำกิจกรรมนี้คือให้ทำอย่างอิสระ ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำเป็นรูปร่างอะไร ให้ทุกคนช่วยกันคิดเองคือการเล่นอย่างอิสระ โดยกลุ่มของข้าพเจ้านำกล่องมาเรียงกันเป็นรถไฟ แต่กลุ่มของข้าพเจ้าทำผิดกติกาโดยนำกล่องมาเกิน 10กล่อง อาจารย์จึงบอกว่าอย่าทำเกิน 10กล่อง เพราะมี 10คน ได้คนละ1กล่อง ก็ต้องทำใหม่ให้เหลือ 10กล่องพอดี อาจารย์สอนเรื่องรูปร่างและขนาดตายตัว และเมื่อนำกล่องมารวมกันเป็นของกลุ่มแล้ว เราต้องจำได้ว่าของเราเป็นอันไหน อันไหนลำดับก่อนและหลัง และสอนเรื่องคณิตศาสตร์ต่างๆ พยายามให้เด็กคิดและลงมือทำเองอย่างอิสระ
                จากนั้นอาจารย์ให้นำของทุกกลุ่มมารวมกัน และช่วยกันจัดเป็นนิทรรศการ
                เมื่อจัดเป็นนิทรรศการเสร็จแล้ว ผลออกมายังไม่ดี ไม่ถูกต้อง อาจารย์จึงให้ทุกคนมาช่วยกันวางแผนจัดนิทรรศการกันใหม่และแก้ไขให้ดีขึ้น เมื่อจัดเสร็จผลออกมากดีขึ้นค่ะ
                การบ้าน
                อาจารย์ให้ทุกคนไปตัดกระดาษลังเป็นรูปวงกลม ตามขนาดต่อไปนี้ 1นิ้ว 1.5นิ้ว และ 2นิ้ว แต่ละขนาดทำ 3อัน และนำกระดาษสีมาแปะโดยมีสีชมพู เขียวเข้ม และเหลือง




                                   





วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 4


            ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา ประพฤติกิจ .2541 :17-19) ดังต่อไปนี้
  1. การนับ (Couting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้เป็นการนับอย่างมีความหมาย
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการที่เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
  3. จับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่องและสามารถจัดประเภทได้
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
  6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุด ๆ หนึ่งตามคำสั่งหรือตามกฎ
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นปกติแล้วครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างและแคบ
  8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
  9. เซต (Set) เป็นการสอนในเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต
  10. เศษส่วน (Fraution) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักจะเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยส่วนรวม ให้เด็กเห็นก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่ง
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไปครูอาจเริ่มสอบเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

               เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 87 - 88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
  1. การจัดกลุ่มหรือเซตสิ่งที่ควรสอน ได้แก่ จับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
  2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน (Number Sysem) และชื่อของตัวเลข 1= หนึ่ง 2 = สอง
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
  6. ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ ฯลฯ
  7. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
  8. รูปทรงเลขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่นเกมและจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
  9. สถิติและกราฟ ไก้แก่ การศึกษาจากการบันทึกทำแผน

**อาจารย์ให้จับคู่แล้วให้ช่วยกันคิดว่าในแต่ละข้อตามแนวคิดของ นิตยา ประพฤติกิจ กับ เยาวพาเดชะคุปต์ ว่าเราจะสามารถสอนให้เด็กรู้จักอย่างไร เพื่อนำเสนออาทิตย์ต่อไป**

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 3


1.      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 3 คน โดยให้แต่ละคนนำ หาความหมาย ทฤษฎี ขอบข่าย หลักการสอน ทางคณิตศาสตร์ มารวมกันแล้วสรุปเนื้อหาที่เหมือนกันออกมาเป็นใบงานของกลุ่ม กลุ่มของข้าเจ้าสรุปได้ดังนี้

สรุปความหมายของคณิตศาสตร์

                คณิตศาสตร์เป็นทั้งศิลป์ ศาสตร์ ภาษา และยังมีลักษณะบางอย่างคล้ายดนตรีซึ่งลักษณะดังว่าทำให้โลกของตัวเลขนั้นน่าสนใจและน่าตื่นเต้นตามิใช่น้อยทั้งยังเป็นศาสตร์ของการคิดคำนวณและการวัด มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาสากล

ที่มา

        ฉวีวรรณ กีรติกหน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2 (คณิตศาสตร์) หน่วยที่ 1-7 พิมพ์ครั้งที่ 3 : หจก.อรุณการพิมพ์,2529
       Keith Gregson “คณิตคิดไม่ยาก Understanding Mathematies” สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง
        Andrew Jeffrey “หนังสือคณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ พิมพ์ที่ธรรกมลการพิมพ์,2554 


สรุปทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

                หลักคณิตศาสตร์นั้นถ้าเปรียบเสมือนกับต้นไม้ก็เหมือนส่วนที่เป็น รากแก้วของต้นไม้ซึ่งถ้ารากแก้วของต้นไม้แข็งแรงหยั่งลงลึก ต้นไม้ก็จะสามารถเจริญเติบโตจากต้นไม้เล็กเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นที่พึ่งพิงของสรรพสิ่งและช่วยจรรโลงโลกให้สวยงาม น่าอยู่ คณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและแม่นยำแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์

ที่มา
        ดร.อิ่มจิตต์ หนังสือหลักคณิตศาสตร์


สรุปหลักการสอนคณิตศาสตร์
                การนับจำนวน จะเริ่มต้นด้วยเจตนาให้ผู้เรียนนับเพื่อจำชื่อจำนวน หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า และสิบ ให้ได้เสียก่อนเพราะจำนวนหนึ่งถึงสิบนั้น เป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดนับจำนวนที่อยู่ถัดไป จากสิบได้ด้วยตนเองโดยเริ่มสอนตามลำดับขั้นตอน

ที่มา
        สวร กาญจนมยูรเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่ม 1” สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด,2532                           
                 

สมาชิกในกลุ่ม

  1.             ..สุนิสา        คำพาที 5411204539 เลขที่ 42
  2.             ..พรรณวิษา วิวิจชัย 5411204182 เลขที่ 33
  3.             ..ชาริดา       ยังสุข   5411204562 เลขที่ 43