ยินดีต้อนรับสู้บล็อกของนางสาวพรรณวิษา วิวิจชัยค่ะ

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 4


            ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา ประพฤติกิจ .2541 :17-19) ดังต่อไปนี้
  1. การนับ (Couting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้เป็นการนับอย่างมีความหมาย
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการที่เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
  3. จับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่องและสามารถจัดประเภทได้
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
  6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุด ๆ หนึ่งตามคำสั่งหรือตามกฎ
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นปกติแล้วครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างและแคบ
  8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
  9. เซต (Set) เป็นการสอนในเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต
  10. เศษส่วน (Fraution) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักจะเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยส่วนรวม ให้เด็กเห็นก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่ง
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไปครูอาจเริ่มสอบเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

               เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 87 - 88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
  1. การจัดกลุ่มหรือเซตสิ่งที่ควรสอน ได้แก่ จับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากันและความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
  2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน (Number Sysem) และชื่อของตัวเลข 1= หนึ่ง 2 = สอง
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
  6. ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ ฯลฯ
  7. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
  8. รูปทรงเลขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่นเกมและจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
  9. สถิติและกราฟ ไก้แก่ การศึกษาจากการบันทึกทำแผน

**อาจารย์ให้จับคู่แล้วให้ช่วยกันคิดว่าในแต่ละข้อตามแนวคิดของ นิตยา ประพฤติกิจ กับ เยาวพาเดชะคุปต์ ว่าเราจะสามารถสอนให้เด็กรู้จักอย่างไร เพื่อนำเสนออาทิตย์ต่อไป**

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 3


1.      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 3 คน โดยให้แต่ละคนนำ หาความหมาย ทฤษฎี ขอบข่าย หลักการสอน ทางคณิตศาสตร์ มารวมกันแล้วสรุปเนื้อหาที่เหมือนกันออกมาเป็นใบงานของกลุ่ม กลุ่มของข้าเจ้าสรุปได้ดังนี้

สรุปความหมายของคณิตศาสตร์

                คณิตศาสตร์เป็นทั้งศิลป์ ศาสตร์ ภาษา และยังมีลักษณะบางอย่างคล้ายดนตรีซึ่งลักษณะดังว่าทำให้โลกของตัวเลขนั้นน่าสนใจและน่าตื่นเต้นตามิใช่น้อยทั้งยังเป็นศาสตร์ของการคิดคำนวณและการวัด มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาสากล

ที่มา

        ฉวีวรรณ กีรติกหน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาเอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2 (คณิตศาสตร์) หน่วยที่ 1-7 พิมพ์ครั้งที่ 3 : หจก.อรุณการพิมพ์,2529
       Keith Gregson “คณิตคิดไม่ยาก Understanding Mathematies” สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง
        Andrew Jeffrey “หนังสือคณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ พิมพ์ที่ธรรกมลการพิมพ์,2554 


สรุปทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

                หลักคณิตศาสตร์นั้นถ้าเปรียบเสมือนกับต้นไม้ก็เหมือนส่วนที่เป็น รากแก้วของต้นไม้ซึ่งถ้ารากแก้วของต้นไม้แข็งแรงหยั่งลงลึก ต้นไม้ก็จะสามารถเจริญเติบโตจากต้นไม้เล็กเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นที่พึ่งพิงของสรรพสิ่งและช่วยจรรโลงโลกให้สวยงาม น่าอยู่ คณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและแม่นยำแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์

ที่มา
        ดร.อิ่มจิตต์ หนังสือหลักคณิตศาสตร์


สรุปหลักการสอนคณิตศาสตร์
                การนับจำนวน จะเริ่มต้นด้วยเจตนาให้ผู้เรียนนับเพื่อจำชื่อจำนวน หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า และสิบ ให้ได้เสียก่อนเพราะจำนวนหนึ่งถึงสิบนั้น เป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นและเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดนับจำนวนที่อยู่ถัดไป จากสิบได้ด้วยตนเองโดยเริ่มสอนตามลำดับขั้นตอน

ที่มา
        สวร กาญจนมยูรเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่ม 1” สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด,2532                           
                 

สมาชิกในกลุ่ม

  1.             ..สุนิสา        คำพาที 5411204539 เลขที่ 42
  2.             ..พรรณวิษา วิวิจชัย 5411204182 เลขที่ 33
  3.             ..ชาริดา       ยังสุข   5411204562 เลขที่ 43









วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 2


          อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน แบ่งกันพับเพื่อน ๆ แล้วให้วาดภาพอะไรก็ได้ตามใจตนเองเพื่อนแทนสัญลักษณ์ของตนเองแล้วเขียนชื่อไว้ใต้ภาพเป็นชื่อตนเอง เมื่อเขียนเสร็จแล้วอาจารย์ให้คนที่มาก่อน 08.30 . ออกไปติดภาพที่ตนเองวาดที่หน้ากระดานเรียงกันแล้วอาจารย์ถามว่ากิจกรรมนี้ได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตรงไหน จำนวน เรียงลำดับ แถว รูปทรง หมวดหมู่ จัดกลุ่ม การซ้ำ การจำนกประเภท ขนาด รูปร่าง การนับ เมื่อนับได้แล้วก็ต้องมีการจดบันทึกโดยการใช้เลข ฮินดูอาราบิกแทนในการจดบันทึกเลขฮินดูอาราบิกจึงใช้เป็นตัวที่แทนค่าต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ (เลขฐานสิบ) เวลานับนับจากซ้ายไปขวาไม่ใช่บนลงล่วง
                สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ สัญลักษณ์ทางภาษาเมื่อมีประสบการณ์ซ้ำ ๆเป็นข้อมูลในสมองเมื่อเด็กเจอข้อมูลใหม่ ๆก็จะปรับเข้ากับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว

อาจารย์ให้ไปหางานห้องสมุด


  •           อาจารย์ให้ไปห้องสมุดไปดูหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มีชื่อหนังสือ,ชื่อผู้แต่ง,ปี พ..,เลขรหัสหนังสือ (อย่างน้อย 5 เล่ม)

1.  รวมสูตร กฎ ทฤษฎีคณิตศาสตร์ ,..ปกรณ์ พลาหาญ ,2553 ,เลขรหัสหนังสือ 510 117 ร ฉ.4
2.   คณิตศาสตร์คิดสนุกคณิตศาสตร์รอบตัวเรา ,ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์, ท่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ ,ธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์ ,2543 ,เลขรหัสหนังสือ 510 34 ค ฉ.1
3.  ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ,รองศาสตราจารย์ชีรวัฒน์ นาคะบุตร ,2546  ,เลขรหัสหนังสือ 510 647 ต ฉ.1
4.  คณิตศาสตร์ประยุกต์ ,รองศาสตราจารย์ชีรวัฒน์ นาคะบุตร ,2549 ,เลขรหัสหนังสือ 510 647 ค ฉ.1
               5.  คณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ ,Andrew Jeffrey,2554 ,เลขรหัสหนังสือ 513 719 ค ฉ.2  
           
  •          หาความหมายของคณิตศาสตร์พร้อมกับบอกคนที่ให้ความหมายมา 1 คน
                   ความหมาย คณิตศาสตร์เป็นทั้งศิลป์ ศาสตร์ ภาษา และยังมีลักษณะบางอย่างคล้ายดนตรีซึ่งลักษณะดังว่าทำให้          โลกของตัวเลขนั้นน่าสนใจและน่าตื่นเต้นตามิใช่น้อยแต่กระนั้นคนเก่ง ๆหลายคนก็ยังมีความรู้สึกกลัวคณิตศาสตร์โดยไม่จำเป็น ซึ่งทำให้คนเหล่านี้เสียโอกาสที่จะสัมผัสถึงความงาม รูปแบบ พลังอำนาจและความสนุกของตัวเลขไป                Andrew Jeffrey ,หนังสือคณิตศาสตร์คิดเร็วแบบอัจฉริยะ ,หน้า 5 ,..2554 ,พิมพ์ที่ธรรกมลการพิมพ์


  •           หาทฤษฎีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 1 คน

              หลักคณิตศาสตร์นั้นถ้าเปรียบเสมือนกับต้นไม้ก็เหมือนส่วนที่เป็น รากแก้วของต้นไม้ซึ่งถ้ารากแก้วของต้นไม้แข็งแรงหยั่งลงลึก ต้นไม้ก็จะสามารถเจริญเติบโตจากต้นไม้เล็กเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรงเป็นที่พึ่งพิงของสรรพสิ่งและช่วยจรรโลงโลกให้สวยงาม น่าอยู่ คณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจ หลักคณิตศาสตร์ อย่างลึกซึ้งและแม่นยำแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่สูงขึ้นไปได้อย่างดีและก็จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้เกิดประโยชน์แก่ตนและประเทศชาติได้อย่างมากมาย              ดร.อิ่มจิตต์ ,หนังสือหลักคณิตศาสตร์






                                     
                                   


     






วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 1


  •        อาจารย์แนะแนวการสอน ห้ามใส่เสื้อกันหนาวเรียน
  •        ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของคณะทั้งหมดถ้าไม่เข้าไม่ได้ไปฝึกสอน
  •        อาจารย์จะปล่อยก่อน 40 นาที เพื่อให้นักศึกษาไปทำบล็อก

                อาจารย์อธิบายบอกถึงวิธีการเรียนและการประเมินในรายวิชานี้โดยการดูจากชิ้นงาน อาจารย์ได้ตั้งคำถาม 2 ข้อ ให้นักศึกษาตอบคือ
  1. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กคืออะไร
  2. คาดหวังที่จะได้รับอะไรจากรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                อาจารย์ได้อธิบายชื่อรายวิชาว่าทำไมใช้คำว่า  จัดประสบการณ์ ทำไม่ไม่ใช้คำว่า สอน และทบทนเรื่อง 6 กิจกรรมหลักว่ามีอะไรบ้าง คือ
  •        เคลื่อนไหวและจังหวะ
  •        กิจกรรมเสรี
  •        กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
  •       กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  •       เกมการศึกษา
  •       กิจกรรมกลางแจ้ง

            การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •            เด็กปฐมวัย สำคัญอันดับแรกเพราะเป็นเป้าหมายที่เราต้องพัฒนา
  •           พัฒนาการด้านสติปัญญา
  •           วิธีในการเรียนรู้ อิสระในการเลือกเล่น


สอน
จัดประสบการณ์
  •            มีการวางแผนเป็นขั้นตอนมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน

  •         วางแผนเหมือนการสอนแต่ไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนจะทำได้ในเวลาเดียวกันเพราะว่าเด็กมีความแตกต่างกัน